จอภาพ
จอภาพที่ใช้แสดงข้อมูลหรือโปรแกรม เป็นอุปกรณ์ OUTPUT อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันจอภาพให้หลายขนาด ได้แก่ 14 นิ้ว 15 นิ้ว 17 นิ้ว และ 19 นิ้ว และมีหลายแบบให้เลือก ทั้งจอภาพธรรมดา (CRT จอใหญ่เหมือนทีวี อ้วน) หรือจอภาพแบน แอลซีดี (LCD จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง)
เมาส์
เมาส์ เป็นอุปกรณ์สำหรับทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยการคลิก
คีย์บอร์ด
คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยการพิมพ์
เคส
เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถึงของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายราย ได้ทำการผลิตคิดคงรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับ การใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาด ปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Case โลหะ และ Case พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีป้องกันในส่วนของไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมา ให้เหมาะสมกับ ชนิดของMother Board แต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลหรือSoftwareที่เราต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์Harddrive(Harddisk)
ปัจจุบัน มีมาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วย กันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก
เพาเวอร์ซัพพลาย
เป็นอุปกรณ์หลักที่คอยจ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนและอุปณ์ต่างๆทั้งหมดภายในเครื่อง มีรูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมติดตั้งอยู่ภายในตัวเคส (สามารถถอดเปลี่ยนได้) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ตามบ้านจาก 220 โวลต์ให้เหลือเพียงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 3 ชุดคือ 3.3 และ 5 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับวงจรชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และ 12 โวลต์ เพื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ของอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงพัดลมระบายอากาศด้วย
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรหลักสำหรับติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เกือบทั้งหมด โดยจะมีหน้าที่ในการประสานงานและติดต่อรับส่งข้อมูลโดยผ่านระบบบัส บนเมนบอร์ดก็จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญๆ รวมอยู่ด้วย เช่น สล็อต,ซ็อกเก็ตสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ชิพเซ็ตที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้าน คอยจัดการและประสานงานให้กับอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งบนเมนบอร์ด นอกจากนี้ก็ยังรวมเอาแผงวงจรและชิพควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller)พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก เช่น พอร์ตขนาน (Parallel Port) พอร์ตอนุกรม (Serial Port) และพอร์ตยูเอสบี (USB Port) เป็นต้น
แรม
RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข้อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยความจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output)โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
ซีพียู
หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นส่วนตีความ และประมวลผลตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟแวร์หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจ หรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ
-อ่านชุดคำสั่ง (fetch)-ตีความชุดคำสั่ง (decode)-ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)-อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
-เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
-เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
การ์ดจอ
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลภาพออกทางจอภาพ ซึ่งปัจจุบันจะสนับสนุนการทำงานทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่นเกมเป็นหลัก
บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากมีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPU จึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ซึ่งจะพบใน Card ตระกูล GeForce ของบริษัท Nvidia ซึ่งปัจจุบัน Card Geforce 2 Ultra ถือเป็น Card ที่เร็วที่สุดในขณะนี้ และในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUT มาให้ด้วย และ ช่องต่อ Panel Moniter (LCD Moniter) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา 3 มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์
ไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม (CD-RW) ซีดีเพลง (Audio CD) โฟโต้ซีดี (Photo CD) วิดีโอซีดี (Video CD) โดยไดรฟ์ทั้งสามประเภท จะมีความสามารถในการอ่านข้อมูล จากแผ่นซีดีที่กล่าวมาข้างต้นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้ด้วย จะต้องเลือกใช้ไดรฟ์ CD-RW และถ้าต้องการอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD ก็ต้องใช้ไดรฟ์ DVD นอกจากนี้ยังมีไดรฟ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Combo Drive คือเป็นไดรฟ์ที่รวมทั้งไดรฟ์ DVD และไดรฟ์ CD-RW อยู่ในไดรฟ์เดียว ทำให้ทั้งดูหนังฟังเพลง บันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีได้เลย ความเร็วของไดรฟ์ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 8X, 40X, 50X ยิ่งมากก็คือยิ่งเร็ว ส่วน CD-RW นั้นจะมีตัวเลขแสดง เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะเพิ่มความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดี เช่น24/10/40X นั่นคือความเร็วในการบันทึกแผ่น CD-R สูงสุด ความเร็วในการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-RWและความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีโปรแกรม หรือซีดี เพลง
อ้างอิง
http://computarepc-nb.blogspot.com/p/blog-page.html
http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/power-supply.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น